พิธีถวายเลือดรอฟีเฎาะฮฺ

พิธีถวายเลือดรอฟีเฎาะฮฺ
ท่านอาลี ท่านฮาซัน และท่านฮูเซน ไม่เคยรับรู้พิธีนอกรีดที่ว่านี้เลย

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กำเนิดชีอะฮฺ



ชีอะฮฺ" เป็นคำภาษาอาหรับ แปลว่า พรรค พวก กลุ่ม ฝ่าย นี่คือความหมายของศัพท์นั้น ต่อมาภายหลัง คำนี้กลายเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้กับกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งคือ " ชีอะฮฺ อะลี " -พวกที่เข้าข้างท่านอะลีและลูกหลานของท่าน ต่อมาได้ผันแปรกลายมาเป็นแนวความคิด หรือมัซฮับ-แนวทางหนึ่งในอิสลาม
" อะลี " ในที่นี้หมายถึง ท่านอะลี อิบนุ อบูฏอลิบ เคาะลีฟะฮฺท่านที่ 4 ในเคาะลีฟะฮฺสี่ท่านแรกของอิสลาม
ท่านอะลี เป็นลูกพี่ลูกน้องของท่านนบี  (ลูกของลุง) ขณะที่ท่านนบี  เริ่มเผยแผ่อิสลามใน ค..610นั้น ท่านอะลียังเป็นเด็กอยู่ และเป็นเด็กคนแรกที่เข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม ต่อมาแต่งงานกับท่านหญิงฟาฏิมะฮฺ บุตรของท่านนบี  ได้บุตรชายด้วยกัน 2 คน คือ ฮะสัน (สิ้นชีวิต ฮ..41 หรือ ค..662) และฮุสัยนฺ (สิ้นชีวิต ฮ..61 หรือ ค..682)
" ชีอะฮฺ " หรือ " ชีอะฮฺของอะลี " แพร่หลายอย่างกว้างขวางในดินแดนอิรักและอิหร่าน ซึ่งเคยเป็นดินแดนที่ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของจักรพรรดิแห่งวงศ์ซาซาน (.. 226-651) ซึ่งเป็นราชวงศ์ของเปอร์เซียที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน และมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก แต่ต่อมาเสื่อมโทรมจนนักรบมุสลิมสามารถไปปกครองได้ ภายการนำของแม่ทัพ สะอัด อิบนุ อบู วักกอศ (. ..670) โดยสามารถเข้าครอบครองเมืองหลวงเซซิโพน (มะดาอิน) ในปี ค..637 ในสมัยเคาะลีฟะฮฺอุมัร อัล-ค็อฏฏอบ
            ชีอะฮฺได้แพร่หลายอย่างกว้างขวางในดินแดนที่เคยอยู่ใต้การปกครองของวงศ์ซาซาน ทั้งในหมู่ชนชั้นผู้ดีและสามัญชน อันเนื่องจากมีเบื้องหลังของประวัติศาสตร์ดังที่จะกล่าวต่อไป
ท่าทีของพวกชีอะฮฺที่เข้าฝ่ายท่านอะลี และต่อมาได้บูชาลูกหลานของท่านอะลีโดยเฉพาะท่านฮุสัยนฺนั้น เนื่องจากมีเบื้องหลังทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในสมัยการยึดครองของนักรบมุสลิมที่มีต่ออาณาจักรเปอร์เซีย
ในขณะที่กองทัพมุสลิมสามารถยึดเมืองหลวงเซซิโพนในปี 637 (..16) ได้ซึ่งเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซียที่จักรวรรดิ์โรมันไม่เคยมีความสามารถถึงขนาดนี้ทั้งๆ ที่เคยรบกันมาเป็นศตวรรษ ครอบครัวของจักรพรรดิเปอร์เซีย (คุสโร เยสเดอ-เกิร์ดที่ 3) และครอบครัวของข้าราชบริวารอื่นๆ ไม่สามารถหนีตามจักรพรรดิของตนออกไปให้พ้นมือมุสลิมได้ จนกลายมาเป็นเชลยศึก ประเพณีของยุคสมัยนั้น ไม่ว่าฝ่ายเปอร์เซียหรือโรม (ไบแซนติน) มีการซื้อขายเชลยศึกเยี่ยงทาส
               ธิดาของจักรพรรดิคุสโร เยสเดอเกิร์ดที่ 3 พระองค์และวงศาคณาญาติชั้นสูงนั้น แม่ทัพสะอัด อิบนุ อบู วักกอศ ได้ส่งไปยังมะดีนะฮฺ ท่านอะลีได้ขอซื้อธิดาของจักรพรรดิเปอร์เซียทั้ง 3พระองค์เป็นกรรมสิทธิของตน ท่านอุมัรอนุมัติ ท่านอะลีจึงได้ปลดปล่อยธิดาทั้ง 3 พระองค์นั้นให้เป็นไท(อิสระ) และจัดการให้แต่งงานกับ
1. มุฮัมมัด บุตรของอบูบักรฺ (พี่ชายคนโตของท่านหญิงอาอิชะฮฺ)
2. อับดุลลอฮฺ บุตรของท่านเคาะลีฟะฮฺอุมัร
3. ฮุสัยนฺ บุตรของท่านอะลีเอง
               พฤติการณ์ของท่านอะลีที่จัดการแต่งงานธิดาของจักรพรรดิปอร์เซียทั้งสามพระองค์นั้นสร้างความเลื่อมใสศรัทธาแก่ชาวอิรักและชาวเปอร์เซียเป็นอย่างยิ่ง
                ฮุสัยนฺมีบุตรกับธิดาของจักรพรรดิเปอร์เซียคนหนึ่งชื่อ อะลี ซัยนุล-อาบิดีน (...713) ด้วยการกำเนิดอะลี ซัยนุล-อาบิดีน นี้เองทำให้ชาวอิรักและเปอร์เซียภาคภูมิใจอย่างยิ่ง และรู้สึกว่าพวกตนมีคุณค่ามากขึ้นเนื่องมาจากอะลี ซัยนุล-อาบิดีนเป็นเลือดผสมระหว่างทายาทของคุสโรแห่งเปอร์เซียกับทายาทของท่านนบีมุฮัมมัด
                 การเข้าเป็นฝ่ายอะลีเห็นได้ชัดขึ้น เมื่อเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายเคาะลีฟะฮฺอะลีกับฝ่ายมุอาวิยะฮฺ
                ในหนังสือประวัติศาสตร์อิสลาม (ตารีคุล-อิสลาม) เล่ม 2 ฉบับพิมพ์ปี 1948ของมุฮัยยิดดีน อัล-ค็อยยาต หน้า 78 ระบุว่า สงครามกลางเมืองคราวนั้นฝ่ายท่านอะลีเสียชีวิตประมาณ35,000 คน ฝ่ายมุอาวิยะฮฺเสียชีวิต 45,000 คน นักรบฝ่ายเคาะลีฟะฮฺอะลีนั้น นอกจากเป็นชาวอาหรับจากแหลมอารเบียแล้ว ยังมีคนที่อยู่ในดินแดนที่เคยตกอยู่ภายใต้อาณาจักรเปอร์เซียจำนวนมากอีกด้วย
                เมื่อมีการประชุมเพื่อพิจารณาและตัดสิน (ตะหฺกีม) ปัญหาเคาะลีฟะฮฺ 2 คนในเดือนเราะมะฎอน ฮ..37 (..657) ทำให้ฝ่ายท่านอะลีแตกออกเป็น 2 พวก
           1. พวกเคาะวาริจญ์ เป็นพวกที่ไม่ยอมรับและไม่รับรองทั้งสองฝ่ายที่เป็นคู่กรณี คือฝ่ายอะลี กับฝ่ายมุอาวิยะฮฺ พวกเขาจึงประกาศตัวเป็นกลุ่มอิสระที่ไม่ผูกพัน และไม่ยอมก้มหัวให้แก่ฝ่ายใด พวกนี้ต่อมาได้แพร่หลายจนกลายเป็นแนวคิด (มัซฮับ) หนึ่งในอิสลาม
           2. พวกชีอะฮฺ เป็นพวกที่สนับสนุนท่านอะลีตามเดิม หลังจากที่ได้เห็นความถูกต้องของฝ่ายท่านอะลีในเหตุการณ์ที่สิฟฟีน และเหตุการณ์สภา " ตะหฺกีม " ล้มเหลวลง พวกดังกล่าวนี้ประกอบด้วยพวกที่อยู่ในดินแดนอิรักและอิหร่าน (เปอร์เซีย) ความลุ่มหลงต่อท่านอะลีนั้นมีมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ฝ่ายเคาะวาริจญ์ได้ลอบสังหารท่านอะลีใน ฮ..40 (..661)
            


ชีอะฮฺภายหลังได้กลายมาเป็นแนวความคิด (มัซฮับ) ในศาสนาอิสลามเช่นกัน หลักการสำคัญที่สุดในแนวความคิดชีอะฮฺก็คือ สิทธิแห่งความเป็นผู้นำสูงสุด นั้นเป็นของผู้ที่สืบสันดานมาจากท่านอะลีเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สืบสันดานจากท่านอูสัยนฺ บุตรของท่านอะลี
นี่คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นมาของพวกชีอะฮฺ ซึ่งต่อมาได้แตกแยกกันอีกเป็นหลายพวกหลายฝ่าย แต่ละฝ่ายมีทัศนะและคำสอนต่างกันอย่างมากมาย
           ชีอะฮฺบางพวกกระเด็นออกจากแนวของอิสลามสุดกู่ถึงขนาดเชื่อว่า ท่านอะลีเป็นพระเจ้า หรือพระเจ้าอวตารมาในร่างกายของท่านอะลี      
             พวกที่ยังไม่ห่างไกลจากอิสลามก็คือ พวกซัยดียะฮฺ พวกอิมามียะฮฺ (ถืออิมามเพียง 6คน) และพวกอิษนาอะชัร (นับถืออิมาม 12 คน)
        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น