พิธีถวายเลือดรอฟีเฎาะฮฺ

พิธีถวายเลือดรอฟีเฎาะฮฺ
ท่านอาลี ท่านฮาซัน และท่านฮูเซน ไม่เคยรับรู้พิธีนอกรีดที่ว่านี้เลย

วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2555

ชีริก ชีอะฮรอฟีเฎาะฮฺพอทราบไหม? (มันเป็นแค่สื่อนั้นหรือ?)


ชิรกฺ (ภาษาอาหรับ: شرك /ชิรกฺ/) การสะกดที่ไม่มาตรฐาน ชิริก มีความหมายว่า การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้า คือการเคารพสักการะสิ่งใดนอกจากอัลลอฮฺ หรือการเชื่อว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มองเห็น หรือที่มองไม่เห็น ที่มีอยู่ หรือที่อุปโลกน์ขึ้นมา ว่ามีพลังอำนาจความสามารถที่จะให้คุณประโยชน์หรือให้โทษต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้ ผู้ที่ตั้งภาคีเรียกในภาษาอาหรับว่า มุชริก
การตั้งภาคีเป็นบาปที่ยิ่งใหญ่ที่สุดรองลงมาจากการปฏิเสธศรัทธา เป็นความบาปที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงอภัยให้ หากตายไปในอาการที่เป็นผู้ตั้งภาคี
ประเภทของชิรกฺ


ชิริกฺแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. การตั้งภาคีเปิดเผย
คือการเชื่อว่ายังมีสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ ที่ศักดิ์สิทธิ์ สมควรได้รับการเคารพสักการะ กราบไหว้บูชา
1.1 การเคารพสักการะสิ่งอื่นใด นอกเหนือจากอัลลอฮฺ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นมนุษย์ที่ยังเป็น หรือตายไปแล้ว วัตถุที่มองเห็นหรือมองไม่เห็น ที่มีจริงหรือที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา โดยไม่จำกัดว่าเคารพสักการะด้วยวิธีใด เช่นการกราบไหว้ การจุดธูปเซ่นไหว้ การทำบูชายันต์ การทำกุรบาน
1.2 การเชื่อหรือนับถือว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นศักดิ์สิทธิ์ นำโชค ปกป้องภัย เช่น สุสานนักบุญ ต้นไม้ ผ้ายันตร์ หิน เป็นต้น
1.3 การเชื่อว่าผู้วิเศษบางคนไม่ว่าจะเป็นหรือตายไปแล้ว สามารถจะให้ชะฟาอะฮฺ (การรับรองช่วยเหลือ) ให้มีสถานภาพที่ดีกว่าในโลกนี้และโลกหน้า
{74:48} ดังนั้นการรับรองของบรรดาผู้รับรองจะไม่เกิดประโยชน์อันใดแก่พวกเขา
{2:48} และจงยำเกรงต่อวันหนึ่ง ซึ่งชีวิตหนึ่งไม่สามารถที่จะช่วยแทนอีกชีวิตหนึ่งได้ และการรับรองจากชีวิตใดก็จะไม่เป็นที่ยอมรับ และค่าไถ่จากชีวิตใดก็จะไม่ถูกรับ และพวกเขาก็จะไม่ได้รับการช่วยเหลือ
{6:51} และเธอจงตักเตือนด้วยอัลกุรอานแก่บรรดาผู้เกรงกลัวว่า พวกเขาจะถูกนำไปชุมนุมยังพระเจ้าของพวกตน โดยที่อื่นจากพระองค์แล้ว พวกเขาจะไม่มีผู้ช่วยเหลือและไม่มีผู้รับรอง เพื่อว่าพวกเขาจะได้ยำเกรง
1.4 การศรัทธาในไสยศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำเองหรือขอให้ผู้อื่นทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำให้เกิดคุณประโยชน์หรือโทษ เช่น ทำให้สามีภรรยาดีกัน หรือแยกกันก็ตาม
{2:102} และพวกเขาได้ปฏิบัติตามสิ่งที่เหล่าชัยฏอนได้อ่านในรัชสมัยสุลัยมาน สุลัยมานไม่ได้ปฏิเสธศรัทธา แต่เหล่าชัยฏอนต่างหากที่ปฏิเสธศรัทธา เพราะพวกเขาสอนไสยศาสตร์ให้แก่ผู้คน และพวกเขา(ปฏิบัติตาม)สิ่งที่ถูกนำลงมาแก่มะลักสองตนที่บาบิล นั่นคือฮารูตและมารูต ทั้งสองจะไม่สอนไสยศาสตร์แก่ผู้ใด จนกว่าเขาทั้งสองจะกล่าวว่า "อันเรานี้เป็นเพียงการทดสอบอย่างหนึ่ง ดังนั้นเธอจงอย่าปฏิเสธศรัทธา"
เพราะจะทำคุณไสยได้ จะต้องขอความช่วยเหลือจากญิน (ผีสางเทวดา)
1.5 การเชื่อในโหราศาสตร์ และการทำนายทายทักในรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการดูดวง การอ่านไพ่ยิปซี การอ่านถ้วยชากาแฟ การอ่านทราย การเสี่ยงทาย สาเหตุที่การเชื่อ โหราศาสตร์เป็นการตั้งภาคี ก็เพราะว่า โหราศาสตร์เชื่อว่า ดาวเคราะห์ทั้งหลายมีอิทธิพลต่อมนุษย์ทั้งโลก ศาสนทูตกล่าวว่า "พวกโหรนั้นโกหก แม้จะทำนายถูก"
2. การตั้งภาคีซ่อนเร้น
คือ การตั้งภาคีที่มีอยู่ภายในจิตใจ ที่ไม่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนจากภายนอก และไม่ได้มีการเคารพสักการะภาคีอันใดขึ้นมาเทียบเทียมกับอัลลอฮฺอย่างโจ่งแจ้ง แต่ให้ตนเองและผลประโยชน์ของตนเอง มีความสำคัญยิ่งกว่าอัลลอฮฺ หรือเท่าเทียมกับอัลลอฮฺ ซึ่งก็เหมือนว่าได้ตั้งภาคีกับพระองค์ เพราะได้เอาตนเองเป็นพระเจ้าเทียบเทียมกับอัลลอฮฺโดยไม่รู้ตัว
{25:43} เธอไม่เห็นดอกหรือ ผู้ที่ยึดเอาตัณหาของตนมาเป็นพระเจ้า แล้วเธอยังจะเป็นผู้คุ้มครองเขากระนั้นหรือ?
2.1 การโอ้อวดในการทำอิบาดะฮฺ เพื่อจะให้ผู้อื่นสรรเสริญเยินยอ หรือเพื่อให้ได้ผลตอบแทนทางโลกอื่น ๆ เช่นนมาซนาฟิละฮฺต่อหน้าผู้คนเพื่อให้คนชมว่าเป็นคนขยันนมาซ ป่าวประกาศการบริจาคเพื่อให้ยกย่องสรรเสริญว่าใจบุญสุนทาน
2.2 การลำพองตนว่า คุณงามความดี ทรัพย์สมบัติ เกียรติยศศักดิ์ศรี ที่ตนมี ได้มาด้วยความพยายามและความฉลาดของตนเอง กอรูนผู้เป็นมหาเศรษฐึร่ำรวยมหาศาลในสมัยของมูซาก็ได้หลงตน และกล่าวว่า
{28:78} เขา (กอรูน) กล่าวว่า "ข้าได้รับมันเพราะความรู้ของข้า"
ชายอีกคนหนึ่งได้อวดตนข่มเพื่อนของเขาว่า
{18:34} และเขาได้รับผลิตผล ดังนั้นเขาจึงกล่าวแก่เพื่อนของเขา ขณะที่กําลังโต้เถียงกันอยู่ว่า "ฉันมีทรัพย์สินมากกว่าท่าน และมีข้าบริพารมากกว่า" {18:35} เขาได้เข้าไปในสวนของเขา โดยที่เขาเป็นผู้อธรรมแก่ตัวเขาเอง เขากล่าวว่า "ฉันไม่คิดว่าสวนนี้จะพินาศไปได้เลย"
ศาสนทูตกล่าวว่า "ผู้ใดที่มีความยโสโอหังในใจของเขา แม้เท่าเมล็ดผักกาด เขาก็จะไม่ได้เข้าสวรรค์"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น